วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจักษุวิทยา


หลักสูตรอบรมสำหรับแพทย์ผู้ฝึกอบรมเฉพาะสาขาจักษุวิทยา ให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาด้านจักษุวิทยา ดังต่อไปนี้

1. จักษุวิทยาทั่วไป

กายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยาของดวงตา และเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ทางจักษุ คัพภวิทยาและพันธุศาสตร์ทางจักษุวิทยา ความรู้พื้นฐานและการนำไปใช้ทางคลินิกของแสงเลเซอร์ทางจักษุวิทยา พื้นฐานของเลนส์ ปริซึม และการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ การตรวจประเมินและการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติทางคลินิก สายตาเลือนรางและการฟื้นฟู เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยนอกเกี่ยวกับการวัดสายตาและเขียนใบสั่งแว่นตา

2. จักษุวิทยาคลินิก

จักษุพยาธิวิทยา เบ้าตา เปลือกตา ท่อน้ำตา และเนื้อเยื่อรอบดวงตาช่องลูกตาส่วนหน้าและต้อหิน เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยในเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบ้าตา เปลือกตา ท่อน้ำตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา และต้อหิน เวชปฏิบัติจักษุในการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกที่มีโรคเบ้าตา เปลือกตา ท่อน้ำตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา และต้อหิน เวชปฏิบัติจักษุในการทำหัตถการและการผ่าตัดผู้ป่วยที่มีโรคเบ้าตา เปลือกตา ท่อน้ำตา เนื้อเยื่อรอบดวงตา และต้อหิน

3. จักษุเวชปฏิบัติ1

การอธิบายแก้วตาและต้อกระจก ความผิดปกติทางจักษุวิทยาในโรคทางกาย จักษุสาธารณสุข ระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติในเวชปฏิบัติจักษุสาธารณสุข เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยในเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยแก้วตา ต้อกระจก และความผิดปกติทางจักษุวิทยาในโรคทางกาย เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยนอกเกี่ยวกับการตรวจรักษาผู้ป่วยแก้วตา ต้อกระจก และความผิดปกติทางจักษุวิทยาในโรคทางกาย เวชปฏิบัติจักษุในการทำหัตถการและการผ่าตัดผู้ป่วยแก้วตา ต้อกระจก และความผิดปกติทางจักษุวิทยาในโรคทางกาย

4. จักษุเวชปฏิบัติ2

จักษุวิทยาเด็ก  มะเร็งลูกตา และความก้าวหน้าทางจักษุวิทยาเด็ก  การตรวจตาเขและโรคตาเขชนิดต่าง ๆ ความก้าวหน้าเรื่องภาวะตาเข จักษุประสาท จักษุประสาทกับโรคทางกาย เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยในเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยกล้ามเนื้อตาผิดปกติและผู้ป่วยทางประสาทจักษุ เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยนอกในการตรวจรักษาผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยกล้ามเนื้อตาผิดปกติและผู้ป่วยทางประสาทจักษุ เวชปฏิบัติจักษุในการทำหัตถการและการผ่าตัดผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยกล้ามเนื้อตาผิดปกติและผู้ป่วยทางประสาทจักษุ

5.จักษุวิทยาชั้นสูง

การอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลาง กระจกตา เยื่อบุตาขาว ผิวตา ระบบน้ำตา  สายตาผิดปกติและการแก้ไข จุดภาพชัด จอตา และวุ้นตา เวชปฏิบัติจักษุผู้ป่วยในเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยภาวะผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ โรคกระจกตา โรคตาด้านนอก โรคจอตาและวุ้นตา และภาวะสายตาผิดปกติ เวชปฏิบัติจักษุในการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกที่มีภาวะผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ โรคกระจกตา โรคตาด้านนอก โรคจอตาและวุ้นตา และภาวะสายตาผิดปกติเวชปฏิบัติ เวชปฏิบัติจักษุในการทำหัตถการและการผ่าตัดผู้ป่วยที่มีภาวะผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ โรคกระจกตา โรคตาด้านนอก โรคจอตาและวุ้นตา และภาวะสายตาผิดปกติ

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ก.พ. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 31 ส.ค. 66 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 31 ส.ค. 66 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.ค. 66 เวลา 08:30 น. ถึง 30 มิ.ย. 68 เวลา 16:30 น.
อบรมในสถานที่
ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนรับสมัคร
10 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 1 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

มีความรู้ระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
16,800 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 16,200 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

มีความรู้ระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักการและเหตุผล

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจักษุวิทยา ได้มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน โดยจัดการศึกษาทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่ทันสมัย เพิ่มพูนทักษะทางปัญญา อีกทั้งยังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ต่อวิชาชีพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ในการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ทางจักษุมาใช้แบบบูรณาการในการตรวจรักษาผู้ป่วยทางคลินิกได้ ให้คำแนะนำ  อธิบาย แนวทางการรักษา และแนวทางการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 2 ส่วน รวม 6 กระบวนวิชา มีจำนวนหน่วยกิตรวม 26 หน่วยกิต จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวมบรรยาย 120 ชั่วโมง ปฏิบัติ 765 ชั่วโมง

เนื้อหาส่วนที่ 1  ประกอบด้วย 4 กระบวนวิชา รวม 14 หน่วยกิต    
1. กระบวนวิชา 345701 เพิ่มพูนทักษะวิชาชีพสำหรับแพทย์ประจำบ้าน 2 หน่วยกิต บรรยาย 30 ชั่วโมง
2. กระบวนวิชา 315721  จักษุวิทยาทั่วไป 2 หน่วยกิต บรรยาย 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 45 ชั่วโมง
3. กระบวนวิชา 315722  จักษุวิทยาคลินิก 5 หน่วยกิต บรรยาย 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 180 ชั่วโมง
4. กระบวนวิชา 315723  จักษุเวชปฏิบัติ 1  5 หน่วยกิต บรรยาย 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 180 ชั่วโมง
     
เนื้อหาส่วนที่ 2  ประกอบด้วย 2 กระบวนวิชา รวม 12 หน่วยกิต    
1. กระบวนวิชา 315724 จักษุเวชปฏิบัติ 2  6 หน่วยกิต บรรยาย 15 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 180 ชั่วโมง
2. กระบวนวิชา 315725 จักษุวิทยาขั้นสูง 6 หน่วยกิต บรรยาย 30 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 180 ชั่วโมง
 

วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาจักษุวิทยา

Responsive image

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
รศ.พญ.วรพร ชัยกิจมงคล
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะแพทยศาสตร์
ภาควิชาจักษุวิทยา
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
น.ส.นภัทรทิตา บุญยัง
napattita.b@cmu.ac.th
053-935512
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 1 ก.พ. 2567 - 15 มิ.ย. 2567
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 1 เม.ย. 2567 - 30 พ.ค. 2567
ภาษาอังกฤษ
สะสมหน่วยกิต
ราคา 10,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

เกินระยะเวลาการรับสมัครวันที่
15 พ.ค. 2566 - 30 เม.ย. 2567

ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

เกินระยะเวลาการรับสมัครวันที่
15 พ.ค. 2566 - 30 เม.ย. 2567

ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 2,100 บาท


เรียนออนไลน์