จิตเวชศาสตร์ขั้นสูง


จิตเวชศาสตร์เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางประสาทวิทยาที่ใช้อธิบายการทำงานของสมอง ทฤษฎีทางจิตวิทยา และเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวของกับจิตเวชศาสตร์คลินิก รวมไปถึงทักษะการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามหลักการของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) โดยคำนึงถึงปัจจัยทางชีวภาพและด้านจิตและสังคม

เนื้อหาในส่วนของจิตเวชศาสตร์พื้นฐาน ประกอบไปด้วย การสัมภาษณ์ทางจิตเวชและการตรวจสภาพจิต
แบบประเมินทางจิตเวช การประเมินทางระบบประสาทและโรคทางกาย กายวิภาคของระบบประสาท สรีรวิทยาและชีวเคมีของระบบประสาท การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ของระบบประสาท พัฒนาการทางประชาน ทฤษฎีเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการเกิดโรคทางจิตเวช ระเบียบวิธีวิจัย สถิติพื้นฐาน โรคจิตเภท โรคผิดปกติทางอารมณ์และกลุ่มโรคทางจิตอื่น ๆ โรควิตกกังวล การรักษาโดยการใช้ยาในจิตเวช พื้นฐานจิตบำบัด การสร้างจิตพลวัติ และจิตบำบัดประคับประคอง การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจและกลุ่มจิตบำบัด การฝึกทำจิตบำบัดประคับประคอง ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์จิตแพทย์ กรณีศึกษาผู้ป่วย และวารสารสโมสรทางจิตเวชศาสตร์

เนื้อหาในส่วนของจิตเวชศาสตร์คลินิก ประกอบไปด้วย การให้คำปรึกษาการรักษาปัญหาจิตเวชกับแพทย์
ต่างแผนก การดูแลปัญหาทางจิตเวชในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคที่รักษาไม่หาย โรคติดเชื้อเอชไอวี สภาพจิตใจที่ส่งผล
ต่อการเจ็บป่วยทางกาย โรคจิตเวชที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โรคที่เกิดจากการใช้สารเสพติด บุคลิกภาพแปรปรวน นิติจิตเวช ความผิดปกติทางเพศและการนอน ปัญหาจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น จิตบำบัดอิงทฤษฎีจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดอิงทฤษฎี cognitive theory จริยธรรมในจิตเวชปฏิบัติ จิตเวชศาสตร์ชุมชน การฝึกทำจิตบำบัดระยะยาว ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์จิตแพทย์ กรณีศึกษาผู้ป่วย และวารสารสโมสรทางจิตเวชศาสตร์คลินิก

เนื้อหาในส่วนของจิตเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติจะเน้นการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยจริงภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์จิตแพทย์ ประกอบไปด้วย การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยนอกที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์ การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยจิตเวช การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช ณ โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยโรคทางกายที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์ทั้งแผนกผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกผ่านระบบการให้คำปรึกษาต่างแผนก การปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์ จิตบำบัดแบบกลุ่ม การให้คำปรึกษารายบุคคล และการปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาทางจิตเวชศาสตร์

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ก.พ. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 31 ส.ค. 66 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 31 ส.ค. 66 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.ค. 66 เวลา 08:30 น. ถึง 30 มิ.ย. 68 เวลา 16:30 น.
อบรมในสถานที่
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
จำนวนรับสมัคร
12 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 1 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

มีความรู้ระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาธารณสุข

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
16,800 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 16,200 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

มีความรู้ระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาธารณสุข

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากจิตเวชศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมมนุษย์เป็นหลัก เป็นศาสตร์ที่ต้องมีพื้นฐานทั้งในส่วนของทฤษฎีทางประสาทวิทยาที่ใช้อธิบายการทำงานของสมอง ทฤษฎีทางจิตวิทยา และเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวของกับจิตเวชศาสตร์คลินิก รวมไปถึงทักษะการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามหลักการของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) โดยคำนึงถึงปัจจัยทางชีวภาพและด้านจิตและสังคม
หลักสูตรนี้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแพทย์ใช้ทุนหรือแพทย์ประจำบ้านที่ต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์ อย่างไรก็ตามในอนาคต เพื่อเปิดกว้างให้แพทย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องและนักจิตวิทยาคลินิกได้มีโอกาสได้เรียนรู้ทางด้านทฤษฎีเรื่องความรู้พื้นฐานทางด้านจิตเวชศาสตร์ ทางภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จึงได้นำหลักสูตรดังกล่าวมาบรรจุในวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต นอกจากนี้หลักสูตรดังกล่าว ผู้เรียนสามารถเรียนเก็บหน่วยกิตไว้เพื่อเทียบโอนในระดับปริญญาที่เกี่ยวข้องต่อไปได้

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 2 ส่วน จำนวน 5 กระบวนวิชา โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 26 หน่วยกิต (รวมกระบวนวิชากลาง 345701 จำนวน 2 หน่วยกิต) จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวมบรรยาย 149 ชั่วโมง ปฏิบัติ 710 ชั่วโมง

เนื้อหาส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 3 กระบวนวิชา รวม 14 หน่วยกิต    
1. กระบวนวิชา 345701 – เพิ่มพูนทักษะวิชาชีพสำหรับแพทย์ประจำบ้าน               2 หน่วยกิต บรรยาย 30 ชั่วโมง
2. กระบวนวิชา 305733 – จิตเวชศาสตร์พื้นฐาน                               6 หน่วยกิต บรรยาย 56 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 90 ชั่วโมง
3. กระบวนวิชา 305762 – จิตเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติ 1                     6 หน่วยกิต ปฏิบัติ 270 ชั่วโมง
     
เนื้อหาส่วนที่ 2 ประกอบด้วย 2 กระบวนวิชา รวม 12 หน่วยกิต    
1. กระบวนวิชา 305734 – จิตเวชศาสตร์คลินิก                                          6 หน่วยกิต บรรยาย 63 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 80 ชั่วโมง
2. กระบวนวิชา 305772 – จิตเวชศาสตร์ในเวชปฏิบัติ 2                                  6 หน่วยกิต บรรยาย 0 ชั่วโมง  ปฏิบัติ 270 ชั่วโมง

จิตเวชศาสตร์ขั้นสูง

Responsive image

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ศ.พญ.ศิริจิต สุทธจิตต์
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะแพทยศาสตร์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายวีรพงศ์ นวลศรี
psychiatry@cmu.ac.th
053-935422
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 22 มี.ค. 2567 - 16 เม.ย. 2567
ภาษาไทย
ราคา 5,900 บาท


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 1 ก.พ. 2567 - 15 มิ.ย. 2567
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

เปิดรับสมัครวันที่ 1 เม.ย. 2567 - 30 เม.ย. 2567
ภาษาอังกฤษ
สะสมหน่วยกิต
ราคา 10,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 25 ธ.ค. 2566 - 2 เม.ย. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 4,600 บาท


เรียนออนไลน์