ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematics of Probability)


หลักสูตร “ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์” มีจำนวนชั่วโมงเรียนรู้รวม 45 ชั่วโมง โดยมีหัวข้อการเรียนรู้ทั้งหมด 6 หัวข้อ ซึ่งในหลักสูตรนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 หลักสูตรย่อย ได้แก่

หลักสูตรย่อยที่ 1 : ทฤษฎีความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม

  • มีหัวข้อการเรียนรู้ทั้งหมด 3 หัวข้อ  (จำนวน 24 ชั่วโมงการเรียนรู้) 

หลักสูตรย่อยที่ 2 : คณิตศาสตร์สำหรับโครงงาน

  • มีหัวข้อการเรียนรู้ 3 หัวข้อ  (จำนวน 21 ชั่วโมงการเรียนรู้) 

ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเพียง 1 หลักสูตรย่อย หรือเลือกเรียนทั้ง 2 หลักสูตรย่อยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความสนใจและจุดประสงค์ในการเรียน

หากผู้เรียนลงทะเบียนในหลักสูตร “ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์” ที่มีเนื้อหาครบทั้ง 2 หลักสูตรย่อย ผู้เรียนจะสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า ในกระบวนวิชา 206774 ความน่าจะเป็นสำหรับครู ซึ่งเป็นกระบวนวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนคณิตศาสตร์) ได้

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 15 มี.ค. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 30 มี.ค. 66 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 30 มี.ค. 66 เวลา 17:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
3 เม.ย. 66 เวลา 09:00 น. ถึง 11 เม.ย. 66 เวลา 16:00 น.
อบรมในสถานที่
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อาคาร 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ (SCB4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรย่อยที่ 1 : อบรมช่วงวันที่ 3-11 เมษายน 2566 (รายละเอียด และเวลาเรียน ของแต่ละวันดูเพิ่มเติมได้ที่เอกสารหลักสูตร)

18 เม.ย. 66 เวลา 09:00 น. ถึง 29 เม.ย. 66 เวลา 12:00 น.
อบรมในสถานที่
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อาคาร 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ (SCB4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตรย่อยที่ 2 : อบรมช่วงวันที่ 18-29 เมษายน 2566 (รายละเอียด และเวลาเรียน ของแต่ละวันดูเพิ่มเติมได้ที่เอกสารหลักสูตร)
จำนวนรับสมัคร
20 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 1 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
  2. ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานเรื่องลำดับ อนุกรมและแคลคูลัสเบื้องต้น (การหาอนุพันธ์และปริพันธ์)
  3. ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานเรื่องความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
5,100 บาท
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 4,500 บาท)
ส่วนลด
-
หลักการและเหตุผล

ภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้ดำเนินการโครงการอบรมอาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งของภาควิชาในด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชน จากการสำรวจความต้องการ พบว่าอาจารย์จำนวนมากต้องการให้ภาควิชาจัดอบรมในหัวข้อต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ แก้ไขความเข้าใจที่คลาดเลื่อนในการเรียนการสอนในชั้นเรียน และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรและสถานการณ์ปัจจุบัน
สืบเนื่องจากการส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้ง “วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต” รวมถึงคณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ผ่านการดำเนินงานด้านการศึกษาตลอดชีวิตของคณะวิทยาศาสตร์ ในด้านการเรียนร่วม หลักสูตรอบรมระยะสั้น เพื่อเชื่อมโยงสู่การสร้างความผูกพันแก่ผู้เรียนในอนาคตซึ่งอาจเข้ามาศึกษาในหลักสูตรของภาควิชา คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนคณิตศาสตร์) ต่อไป
ดังนั้น ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้คัดสรรเนื้อหาอันเป็นส่วนสำคัญจึงเห็นสมควรเสนอการจัดโครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับอาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ประจำปี 2566 ในหัวข้อ  “ทฤษฎีความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม” และหัวข้อ “คณิตศาสตร์สำหรับโครงงาน”  ซึ่งเป็นเนื้อหาใหม่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับมัธยมปลาย และเป็นองค์ความรู้ที่พึงมีสำหรับการทำโครงงานด้านคณิตศาสตร์เชิงสถิติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้แก่ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ตลอดจนเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนสามารถทดสอบเพื่อวัดสมรรถนะและเก็บสะสมหน่วยกิตล่วงหน้าสำหรับการเทียบโอนเข้าสู่ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในรายวิชา 206774 “ความน่าจะเป็นสำหรับครู”  ได้ (สามารถเก็บสะสมหน่วยได้ 5 ปี) และเพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการศึกษาค้นคว้า การเพิ่มพูนความรู้ทางคณิตศาสตร์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาต่อไป

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตร “ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์” มีจำนวนชั่วโมงเรียนรู้รวม 45 ชั่วโมง โดยมีหัวข้อการเรียนรู้ทั้งหมด 6 หัวข้อ ซึ่งในหลักสูตรนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 หลักสูตรย่อย ได้แก่

หลักสูตรย่อยที่ 1 : ทฤษฎีความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม

  • มีหัวข้อการเรียนรู้ทั้งหมด 3 หัวข้อ  (จำนวน 24 ชั่วโมงการเรียนรู้) 
หลักสูตรย่อยที่ 2 คณิตศาสตร์สำหรับโครงงาน
  • มีหัวข้อการเรียนรู้ 3 หัวข้อ  (จำนวน 21 ชั่วโมงการเรียนรู้) 
หลักสูตรย่อยที่ 1 ทฤษฎีความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม รวม 24 ชั่วโมง
1. การนิยามความน่าจะเป็นโดยหลักคณิตศาสตร์
  1.1 ปริภูมิความน่าจะเป็น
  1.2 ตัวแปรสุ่มวิยุต
  1.3 ตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง
6 ชั่วโมง
2. การพิสูจน์และการคำนวณความน่าจะเป็น
  2.1 หลักการนับ
  2.2 ความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข
  2.3 การคาดหมาย
  2.4 ความแปรปรวน
  2.5 ตัวแปรสุ่มปรกติ
  2.6 ตัวแปรสุ่มทวินาม
  2.7 ตัวแปรสุ่มปัวซง
12 ชั่วโมง
3. ทฤษฎีบทลิมิต และฟังก์ชันความน่าจะเป็นก่อกำเนิดโมเมนต์
  3.1 กฎการดำเนินการมากครั้ง
  3.2 ทฤษฎีบทลิมิตกลาง
  3.3 ผลบวกของตัวแปรสุ่มอิสระ
6 ชั่วโมง
 
หลักสูตรย่อยที่ 2 คณิตศาสตร์สำหรับโครงงาน รวม 21 ชั่วโมง
1. เวกเตอร์สำหรับตัวแปรสุ่ม
  1.1 ฟังก์ชันการแจกแจงและการแปลงตัวแปรสุ่ม
  1.2 การแปลงเวกเตอร์สุ่ม
  1.3 ไคกำลังสอง การแจกแจงนักเรียนและเวกเตอร์สุ่มปรกติ
6 ชั่วโมง
2. ตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับโครงงานและการวิจัยในชั้นเรียน
  2.1 การประมาณค่าตัวอย่างขนาดใหญ่
  2.2 การทดสอบสมมติฐาน
  2.3 ตัวอย่างขนาดเล็ก
  2.4 การทดสอบด้วยไคกำลังสอง
8 ชั่วโมง
3. การทำนายค่าโดยใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์
  3.1 การปรับเส้นตรงให้เข้ากับข้อมูล
  3.2 การอนุมานสำหรับการถดถอย
7 ชั่วโมง
 
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเพียง 1 หลักสูตรย่อย หรือเลือกเรียนทั้ง 2 หลักสูตรย่อยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความสนใจและจุดประสงค์ในการเรียน

หากผู้เรียนลงทะเบียนในหลักสูตร “ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์” ที่มีเนื้อหาการอบรมครบทั้ง 2 หลักสูตรย่อย ผู้เรียนจะสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า ในกระบวนวิชา 206774 ความน่าจะเป็นสำหรับครู ซึ่งเป็นกระบวนวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนคณิตศาสตร์) ได้

ความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematics of Probability)

Responsive image

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ดร.ภาคภูมิ เพ็ชรประดับ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์
ภาควิชาคณิตศาสตร์
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
053-943326-9
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 1 ก.พ. 2567 - 15 มิ.ย. 2567
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 1 เม.ย. 2567 - 30 เม.ย. 2567
ภาษาอังกฤษ
สะสมหน่วยกิต
ราคา 10,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 15 พ.ค. 2566 - 30 เม.ย. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 15 พ.ค. 2566 - 30 เม.ย. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 2,100 บาท


เรียนออนไลน์